ข้อมูลองค์กร

คณะอนุกรรมการ
คณะอนุกรรมการกฎหมาย
อำนาจหน้าที่
  • 1
    พิจารณากลั่นกรองหรือยกร่างระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศของ สพพ. ก่อนเสนอ คพพ. พิจารณา
  • 2
    ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อกฎหมายแก่ คพพ. และ สพพ.
  • 3
    แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นที่ปรึกษาของคณะอนุกรรมการฯ
  • 4
    ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจาก คพพ.
คณะกรรมการตรวจสอบ
อำนาจหน้าที่
  • 1
    เสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่ใช่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ติดตามผลการปฏิบัติงาน และพิจารณาค่าตอบแทนในการสอบบัญชี
  • 2
    สอบทานให้สำนักงาน มีการรายงานการเงินอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ และพิจารณาให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการในกรณีที่ฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับรายงานทางการเงิน
  • 3
    กำกับดูแลระบบงานตรวจสอบภายในให้มีความเป็นอิสระ รวมทั้งพิจารณาและให้ความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งและประเมินผลงานหัวหน้าผู้ตรวจสอบภายใน
    ทั้งนี้ ให้ผู้อำนวยการมีส่วนพิจารณาร่วมกันกับคณะกรรมการตรวจสอบในกรณีบริหารงานบุคคลตามข้อ 17 วรรคสองด้วย
  • 4
    ประเมินผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคของหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบ การตรวจสอบภายในและศักยภาพของผู้ตรวจสอบภายในของหน่วยงานตรวจสอบภายในอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  • 5
    จัดทำกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการดำเนินงานของสำนักงาน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และมีการสอบทานความเหมาะสมของกฎบัตรอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  • 6
    พิจารณาอนุมัติกฎบัตรของหน่วยตรวจสอบภายใน แผนการตรวจสอบ และงบประมาณ และให้มีการสอบทานความเหมาะสมของกฎบัตรหน่วยตรวจสอบภายในอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  • 7
    จัดหาที่ปรึกษาจากภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ในการให้คำแนะนำ หรือช่วยในการปฏิบัติงานตรวจสอบ โดยใช้ค่าใช้จ่ายของสำนักงาน
  • 8
    ประชุมร่วมกับผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน และที่ปรึกษาภายนอกตามความจำเป็นและเหมาะสม
  • 9
    พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีโอกาสเกิดการทุจริตที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของสำนักงาน
  • 10
    จัดทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะกรรมการ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ และเผยแพร่ต่อบุคคลภายนอก โดยรวมอยู่ในรายงานประจำปีของสำนักงานหรือเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสำนักงานโดยประธานกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ลงนามในรายงานดังกล่าว และต้องมีเนื้อหาอย่างน้อย ดังนี้
    ก. ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตของหน่วยงานของสำนักงาน
    ข. ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในด้านการเงิน
    ค. จำนวนครั้งในการจัดประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละราย
  • 11
    สอบทานระบบบริหารจัดการของสำนักงานและการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กระบวนการจัดทำรายงานทางการเงิน การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงของสำนักงาน รวมถึงระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตของสำนักงาน และระบบการรับแจ้งเบาะแส
  • 12
    เชิญเจ้าหน้าที่ของสำนักงานหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลหรือมาเข้าร่วมการประชุมกับคณะกรรมการตรวจสอบได้ตามความเหมาะสมหรือตามที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นควร
  • 13
    เสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่ใช่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ติดตามผลการปฏิบัติงาน และพิจารณาค่าตอบแทนในการสอบบัญชี
  • 14
    ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนการปฏิบัติงานและประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ สพพ.
อำนาจหน้าที่
  • 1
    ดำเนินการพิจารณากลั่นกรองแผนการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ สพพ. ก่อนนำเสนอให้ คพพ. พิจารณาให้ความเห็นชอบ
  • 2
    ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ สพพ. ตามกรอบหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) หรือ คพพ. พร้อมทั้ง ให้นำผลการประเมินดังกล่าวและความเห็นเสนอให้ คพพ. เพื่อพิจารณา
  • 3
    ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจาก คพพ.
คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงของ สพพ.
อำนาจหน้าที่
  • 1
    กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในของ สพพ.
  • 2
    กำหนดนโยบายด้านการเงินสำหรับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของ สพพ.
  • 3
    จัดทำและติดตามผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในของ สพพ. รวมถึงปรับปรุงการดำเนินงานด้านการเงินของ สพพ. และให้ข้อเสนอแนะกับคณะกรรมการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (คพพ.)
  • 4
    ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจาก คพพ.
คณะอนุกรรมการกำหนดและติดตามผลการผฏิบัติงานตามกลยุทธ์ แผนยุทธศาสตร์และการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงาน (KPI) ของ สพพ.
อำนาจหน้าที่
  • 1
    กำหนดกลยุทธ์ ติดตาม และให้ข้อแนะนำในการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานของ สพพ.
  • 2
    กำกับดูแล ให้คำแนะนำ และติดตามผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด (KPI) ให้เป็นไปตามคำรับรองการปฏิบัติงานประจำปีของ สพพ.
  • 3
    ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจาก คพพ.
คณะอนุกรรมการบริหารงานบุคคล
อำนาจหน้าที่
  • 1
    พิจารณาโครงสร้าง แผนพัฒนาบุคลากร และอัตรากำลังเพื่อนำเสนอ คพพ. พิจารณาอนุมัติ
  • 2
    พิจารณาเสนอแนะ และกำหนดมาตรฐานค่าตอบแทน เพื่อปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ เพื่อนำเสนอ คพพ. พิจารณาอนุมัติ
  • 3
    เสนอแนะ ให้คำปรึกษา และรายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลต่อ คพพ. เพื่อพิจารณาอนุมัติ
  • 4
    แต่งตั้งคณะทำงาน หรือบุคคลเพื่อทำการใดๆ ตามอำนาจหน้าที่
  • 5
    ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจาก คพพ.
คณะอนุกรรมการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
อำนาจหน้าที่
  • 1
    พิจารณากำหนดแนวทาง นโยบาย และแผนงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
  • 2
    บริหารจัดการและติดตามการบริหารงานให้เป็นไปตามแนวทางนโยบายและแผนงานที่กำหนดตามข้อ 1
  • 3
    กำกับ ดูแล ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อให้เกิดการบริหารข้อมูลและเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลเป็นไปตามพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562
  • 4
    ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างระบบสารสนเทศ เพื่อบูรณาการฐานข้อมูลระบบสารสนเทศ
  • 5
    รายงานผลการดำเนินงานตาม ข้อ 1 2 และ 3 ต่อ คพพ.
  • 6
    ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจาก คพพ.
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความสุขของประชาชนระดับหน่วยงาน สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) กระทรวงการคลัง
อำนาจหน้าที่
  • 1
    จัดทำแผนการดำเนินกิจกรรมจิตอาสาของ สพพ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และต่อเนื่องจนกว่าจะมีการยกเลิกคำสั่ง
  • 2
    อำนวยการ ดำเนินการ และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมจิตอาสาของกระทรวงการคลังและ สพพ.
  • 3
    ส่งเสริมอาสาสมัครจิตอาสาให้ร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสม
  • 4
    เผยแพร่และประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมจิตอาสาของ สพพ.
  • 5
    รายงานผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อความสุขของประชาชนระดับหน่วยงานให้ คพพ. ทราบเป็นระยะ และกระทรวงการคลังทราบเป็นประจำทุกเดือน
  • 6
    ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ คพพ. มอบหมาย