ข้อมูลองค์กร

ทิศทางนโยบายขององค์กร
แนวทางการดำเนินงานในอนาคต สพพ.
01
ส่งเสริมภาคเอกชน
ส่งเสริมภาคเอกชนไทยให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา เศรษฐกิจของภูมิภาค
02
สนับสนุนโครงการ
สนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษทวาย เมียนมา ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคและขยายการค้า ของอาเซียนไปยังเอเชียใต้และซีกโลกตะวันตก
03
เชื่อมโยงโครงข่าย
สนับสนุนให้มีโครงการเปิดประตูการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านที่มีจำนวนประชากรและกำลังซื้อมาก โดยสร้างความเชื่อมโยงโครงข่ายทางด้านการคมนาคม ขนส่งระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านไปสู่ ประเทศ  ที่ 3 เช่น จีน อินเดีย บังคลาเทศ เป็นต้น
04
สนับสนุนโครงการ
สนับสนุนโครงการพัฒนาชุมชนเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษบนเส้นทาง คมนาคมที่สำคัญ เพื่อพัฒนาเส้นทางเหล่านั้นให้กลายเป็นแนวระเบียง เศรษฐกิจ (Economic Corridor)
อย่างเต็มรูปแบบ
ความเป็นมา
17 พฤษภาคม 2548

ได้จัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)หรือ สพพ. มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) เรียกสั้นๆ NEDA

ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548
  • หมวดที่ 1

    ว่าด้วย การจัดตั้ง วัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่

  • หมวดที่ 2

    ว่าด้วย ทุน รายได้ และทรัพย์สิน

  • หมวดที่ 3

    ว่าด้วย การบริหารและการดำเนินกิจการ

  • หมวดที่ 4

    ว่าด้วย ผู้ปฏิบัติงานของสำนักงาน

  • หมวดที่ 5

    ว่าด้วย การจัดตั้ง วัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่

  • หมวดที่ 6

    ว่าด้วย การบัญชี การตรวจสอบ

    และการประเมิน ผลงานของสำนักงาน

  • หมวดที่ 7

    ว่าด้วย การกำกับดูแล

บทเฉพาะกาล เป็นบทว่าด้วยการดำเนินงานต่างๆ ในช่วงของการเริ่มก่อตั้ง สพพ. เช่นด้านงบประมาณ
และการย้าย-ถ่ายโอนทรัพย์สินและบุคลากรจาก สชพ. /NECF เดิม เป็นต้น

วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ สพพ.
(ตามที่กำหนดในมาตรา 7 ของพระราชกฤษฎีกาฯ) ประกอบด้วย
  • 1
    การให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ทั้งด้านการเงินและวิชาการ
  • 2
    การให้ความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับ ประเทศเพื่อนบ้าน
  • 3
    การศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายตลอดจนมาตรการต่างๆ ในการให้ความร่วมมือฯ
  • 4
    การประสานการใช้อำนาจหน้าที่หน่วยงานต่างๆ เพื่อบูรณาการความร่วมมือฯ
top_view_career_guidance_items
มาตรา 8 ได้กำหนดให้ สพพ. มีอำนาจ ในการกระทำกิจการต่างๆ ดังนี้
  • 1
    ถือกรรมสิทธ์ มีสิทธิครอบครองและมีทรัพย์สิทธิต่างๆ
  • 2
    ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมใดๆ ได้
  • 3
    ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแบบให้เปล่า (Grant) และเงินกู้แบบเงื่อนไขผ่อนปรน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสำนักงาน (ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่คณะกรรมการกำหนด)
  • 4
    กู้ยืม (ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด) หรือ ระดมเงินทุนเองได้ (ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ที่คณะกรรมการกำหนด)
  • 5
    เข้าร่วมทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นในกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสำนักงาน (ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด)
  • 6
    เป็นตัวแทนหรือนายหน้า หรือมอบหมาย หรือว่าจ้างบุคคลหรือนิติบุคคลประกอบกิจการต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานได้
  • 7
    ทำความตกลงและร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ องค์การ หรือหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งภาคเอกชนในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสำนักงานได้
  • 8
    เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอื่นใดในการดำเนินกิจการ
  • 9
    จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงาน กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือ ต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ
    สำนักงาน