Organization info

Direction of NEDA’s Operations
Regarding the future direction, NEDA will:
01
Promote the private sector
Encourage Thai private sector to play an increasing important role in the economic development in the region.
02
Support the project
Promote the project to develop the special economic zone in Dawei, Myanmar, which will link the production network/value chains in the region and will help expand ASEAN trade to South Asia and the West.
03
Interconnection
Promote the project to enhance trade links with neighbouring markets with large population/purchasing power by developing transportation links between Thailand and neighbouring countries and third countries such as PRC, India, and Bangladesh.
04
Support the project
Promote urban and special economic zone development projects on major transportation routes in order to transform those transportation routes into full economic corridors.
ความเป็นมา
17 พฤษภาคม 2548

ได้จัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)หรือ สพพ. มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) เรียกสั้นๆ NEDA

ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548
  • หมวดที่ 1

    ว่าด้วย การจัดตั้ง วัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่

  • หมวดที่ 2

    ว่าด้วย ทุน รายได้ และทรัพย์สิน

  • หมวดที่ 3

    ว่าด้วย การบริหารและการดำเนินกิจการ

  • หมวดที่ 4

    ว่าด้วย ผู้ปฏิบัติงานของสำนักงาน

  • หมวดที่ 5

    ว่าด้วย การจัดตั้ง วัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่

  • หมวดที่ 6

    ว่าด้วย การบัญชี การตรวจสอบ

    และการประเมิน ผลงานของสำนักงาน

  • หมวดที่ 7

    ว่าด้วย การกำกับดูแล

บทเฉพาะกาล เป็นบทว่าด้วยการดำเนินงานต่างๆ ในช่วงของการเริ่มก่อตั้ง สพพ. เช่นด้านงบประมาณ
และการย้าย-ถ่ายโอนทรัพย์สินและบุคลากรจาก สชพ. /NECF เดิม เป็นต้น

วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ สพพ.
(ตามที่กำหนดในมาตรา 7 ของพระราชกฤษฎีกาฯ) ประกอบด้วย
  • 1
    การให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ทั้งด้านการเงินและวิชาการ
  • 2
    การให้ความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับ ประเทศเพื่อนบ้าน
  • 3
    การศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายตลอดจนมาตรการต่างๆ ในการให้ความร่วมมือฯ
  • 4
    การประสานการใช้อำนาจหน้าที่หน่วยงานต่างๆ เพื่อบูรณาการความร่วมมือฯ
top_view_career_guidance_items
มาตรา 8 ได้กำหนดให้ สพพ. มีอำนาจ ในการกระทำกิจการต่างๆ ดังนี้
  • 1
    ถือกรรมสิทธ์ มีสิทธิครอบครองและมีทรัพย์สิทธิต่างๆ
  • 2
    ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมใดๆ ได้
  • 3
    ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแบบให้เปล่า (Grant) และเงินกู้แบบเงื่อนไขผ่อนปรน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสำนักงาน (ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่คณะกรรมการกำหนด)
  • 4
    กู้ยืม (ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด) หรือ ระดมเงินทุนเองได้ (ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ที่คณะกรรมการกำหนด)
  • 5
    เข้าร่วมทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นในกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสำนักงาน (ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด)
  • 6
    เป็นตัวแทนหรือนายหน้า หรือมอบหมาย หรือว่าจ้างบุคคลหรือนิติบุคคลประกอบกิจการต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานได้
  • 7
    ทำความตกลงและร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ องค์การ หรือหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งภาคเอกชนในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสำนักงานได้
  • 8
    เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอื่นใดในการดำเนินกิจการ
  • 9
    จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงาน กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือ ต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ
    สำนักงาน